วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วิธีใช้โซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัย




วิธีใช้โซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัย

ผู้ใช้งานเว็บโซเชียลมีเดียควรปฏิบัติตามคำแนะนำ 9 ประการนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลป้องกันตนเองจากภัยที่อาจเกิดขึ้นจากโซเชียลมีเดีย

1. ตั้งการแจ้งเตือนเมื่อคลิกลิงค์ ตั้งค่าให้คอมพิวเตอร์ของคุณแจ้งเตือนคุณเมื่อคุณคลิกลิงค์ที่เพื่อนคุณส่ง มาผ่านทางโซเชียลเว็บไซต์ เพื่อป้องกันไม่ให้คุณคลิกลิงค์ที่อาจเป็นอันตรายโดยไม่ทันรู้ตัว

2. รู้เกี่ยวกับโปรไฟล์ของตัวเอง โดยส่วนมากแฮกเกอร์มักสามารถล้วงข้อมูลสำคัญๆหรือข้อมูลบัตรเครดิตได้จากการคลิก ลืมรหัสผ่าน?” ที่ อยู่บนหน้าลงชื่อเข้าใช้เว็บไซต์ ในการที่แฮกเกอร์เหล่านี้จะเจาะเข้าไปในบัญชีของคุณได้ แฮกเกอร์จะต้องค้นหาคำตอบของคำถามเพื่อความปลอดภัยเหล่านี้ให้ได้ ยกตัวอย่างเช่น วันเกิดของคุณ ภูมิลำเนา ชื่อโรงเรียนมัธยมของคุณหรือ แม้กระทั่งชื่อของพ่อแม่ ซึ่งหากเว็บไซต์ที่คุณมีบัญชีเข้าใช้อนุญาตให้คุณตั้งคำถามเองได้ จงตั้งคำถามเองและไม่ควรจดคำถามคำตอบเอาไว้ในที่ๆใครจะสามารถหาได้พบ

3. อย่าเชื่อว่าข้อความนั้นถูกส่งมาจากผู้ส่งตามเขียนเอาไว้จริงๆ เพราะแฮกเกอร์สามารถเจาะเข้าระบบบัญชีผู้ใช้ของเพื่อนคุณและส่งข้อความหรือ อีเมล์มาหาคุณโดยทำให้เหมือนว่าเพื่อนคนนั้นเป็นคนส่งข้อความหาคุณได้ หากคุณสงสัยว่าข้อความหรืออีเมล์นั้นจะเป็นของปลอม คุณควรติดต่อเพื่อนคนนั้นๆของคุณโดยการใช้วิธีการอื่น เช่น โทรศัพท์หา เพื่อที่จะได้ทราบแน่ชัดว่า ข้อความนั้นถูกส่งมาจากเพื่อนของคุณจริงหรือไม่

4. ระวังอย่าให้ข้อมูลอีเมล์แอดเดรสของเพื่อนคุณรั่วไหล และไม่ควรอนุญาตให้โซเชียลเน็ตเวิร์คเหล่านั้นทำการสแกนบัญชีรายชื่ออีเมล์ แอดเดรสของคุณ บางครั้งเมื่อคุณสมัครเข้าใช้โซเชียลเว็บไซต์ เว็บไซต์นั้นๆจะมีบริการให้คุณกรอกอีเมล์แอดเดรสและพาสเวิร์ดของคุณลงไป เพื่อเว็บไซต์จะช่วยทำการค้นหาเพื่อนคนอื่นๆในบัญชีรายชื่อของคุณที่ใช้งาน โซเชียลเว็บไซต์นี้เช่นกัน หากคุณไม่แน่ใจว่าเว็บไซต์นั้นๆมีความน่าเชื่อถือเพียงพอ คุณไม่ควรให้ข้อมูลส่วนตัว เพราะเว็บไซต์อาจนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการส่งอีเมล์หรือข้อความหลอกลวงไป หาเพื่อนคนอื่นๆของคุณโดยสวมรอยเป็นตัวคุณ

5. ไม่ควรรับทุกคนโซเชียลเน็ตเวิร์คเป็นเพื่อนโดยเฉพาะคนที่คุณไม่รู้จักในโลกแห่งความเป็นจริง เพราะผู้ไม่หวังดีมักจะสร้างบัญชีผู้ใช้ปลอมขึ้นมาและแฝงตัวเข้ามาเป็นเพื่อนเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัว

6. เลือก ใช้งานโซเชียลเว็บไซต์ที่ดูน่าเชื่อถือและไว้ใจได้ ควรเลือกเว็บไซต์ที่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยและนโยบายเกี่ยวกับการปกป้อง ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ที่ดี เพราะในบางครั้งคุณจะต้องกรอกข้อมูลส่วนตัวสำคัญๆให้กับเว็บไซต์นั้นเมื่อ เริ่มต้นการใช้งานครั้งแรก และควรใช้หลักการเดียวกันนี้ในการตัดสินใจเมื่อเว็บไซต์อื่นๆร้องขอให้กรอก ข้อมูลเกี่ยวกับบัตรเครดิต

7. นึกอยู่เสมอว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เขียนลงบนอินเทอร์เน็ตจะอยู่บนอินเทอร์เน็ต ตลอดไป เพราะถึงแม้ว่าคุณจะลบบัญชีผู้ใช้ไปแล้ว ผู้ใช้งานบนอินเทอร์เน็ตคนอื่นๆก็สามารถที่จะเก็บรูปภาพหรือข้อมูลของคุณเอา ไว้ได้ อีกทั้งยังสามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้อีกด้วย

8. ระมัดระวังในการติดตั้งส่วนขยายบนเว็บไซต์ (Extension) และเลือกดาวน์โหลดโปรแกรมจากผู้ให้บริการที่ไว้ใจได้ โซเชียลเว็บไซต์ส่วนมากจะอนุญาตให้ผู้ใช้งานติดตั้งแอพพลิเคชั่นของผู้ให้ บริการเจ้าอื่นๆได้เพื่อสร้างลูกเล่นหรือเพิ่มความน่าสนใจให้กับหน้า เว็บไซต์ส่วนตัว ซึ่งผู้ไม่หวังดีก็จะอาศัยช่องทางนี้ในการเข้าไปขโมยข้อมูลสำคัญของคุณ 

9. ปิดตัวเลือกระบุสถานที่อยู่ของคุณ เพราะโซเชียลเว็บไซต์บางเว็บที่เปิดให้บริการบนโทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่มักจะ มีลูกเล่นที่ผู้ใช้งานสามารถระบุที่อยู่ ณ ปัจจุบันให้เพื่อนคนอื่นๆ ทราบด้วย ซึ่งหากมีผู้ไม่หวังดีกำลังติดตามคุณอยู่ ก็จะทำให้เขาทราบถึงสถานที่ต่างๆ ที่คุณไปในแต่ละวันได้ เช่น บ้าน ที่ทำงาน ซึ่งผู้ไม่หวังดีเหล่านี้อาจสามารถที่จะนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในทางที่ไม่ดี ได้

ที่มา :  http://www.ictkm.info/content/detail/40.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น